เมนู

ด้วยว่า ถ้อยคำชนิดนี้ ชื่อว่า พหุชนกันตา เพราะหมายความว่า
เป็นวาจาที่ชนเป็นอันมากรักใคร่.
วาจา ชื่อว่า พหุชนมนาปา เพราะหมายความว่า เป็นที่ชอบใจ
คือทำความเจริญใจให้แก่ชนเป็นอันมาก เพราะเป็นวาจาที่ชนเป็นอันมาก
รักใคร่นั่นเอง.
จบอรรถกถาคูถภาณีสูตรที่ 8

9. อันธสูตร



ว่าด้วยคนตาบอด - ตาเดียว - สองตา



[468] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 มีอยู่ในโลก บุคคล 3
คือใคร ? คือ (อนฺธ) คนบอด (เอกจกฺขุ) คนตาเดียว (ทฺวิจกฺขุ) คนสองตา
ก็บุคคลบอดเป็นอย่างไร ? บุคคลลางคนในโลกนี้ ไม่มีดวงตา
(คือปัญญา) ที่เป็นเหตุจะให้ได้โภคทรัพย์อันยังไม่ได้ก็ดี เป็นเหตุจะที่
โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีขึ้นก็ดี ทั้งไม่มีดวงตา (คือปัญญา) ที่เป็นเหตุจะ
ให้รู้ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลและอกุศล ... อันมีโทษและไม่มีโทษ ... อัน
หยาบและละเอียด ... อันเป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า
บุคคลบอด.
ก็บุคคลตาเดียวเป็นอย่างไร ? บุคคลลางคนในโลกนี้ มีดวงตาที่
เป็นเหตุจะให้ได้โภคทรัพย์อันยังไม่ได้ก็ดี เป็นเหตุจะทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้ว
ให้ทวีขึ้นก็ดี แต่ไม่มีดวงตาที่เป็นเหตุจะให้รู้ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลและ
อกุศล ฯลฯ นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลตาเดียว.

ก็บุคคลสองตาเป็นอย่างไร บุคคลลางคนในโลกนี้ มีดวงตาที่เป็น
เหตุจะให้ได้โภคทรัพย์ ฯลฯ ทั้งมีดวงตาที่เป็นเหตุจะให้รู้ธรรมทั้งหลาย ฯลฯ
นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลสองตา.
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 มีอยู่ในโลก.
(นิคมคาถา)
คนตาบอดมืด เคราะห์ร้ายทั้ง 2 ทาง
คือ โภคทรัพย์อย่างที่ว่าก็ไม่มี ความดีก็
ไม่ทำ.
ส่วนอีกคนหนึ่งนี้ เรียกว่า บุคคล
ตาเดียว ไม่เกี่ยวในเรื่องธรรม และ
อธรรม แสวงหาแต่โภคทรัพย์ เป็นคน
ครองกามที่ฉลาดรวบรวมทรัพย์ ด้วยการ
ขโมย การโกงและการปลิ้นปล้อน บุคคล
ตาเดียวนั้นจากโลกนี้ ไปนรก ย่อมเดือด-
ร้อน.
ส่วนผู้ที่เรียกว่า คนสองตา เป็น
บุคคลประเสริฐ ให้ทรัพย์ที่ได้ด้วยความ
ขยัน จากกองโภคะที่ตนหาได้โดยชอบ
(เป็นทาน) มีความคิดสูง มีใจไม่เคลือบ-
แคลง ย่อมเข้าถึงฐานะอันเจริญ ซึ่งเป็น
ฐานะที่ถึงแล้วไม่เศร้าใจ.

ควรหลีกคนบอดและคนตาเดียวเสีย
ให้ไกล ควรคบแต่คนสองตาซึ่งเป็นบุคคล
ประเสริฐ.

จบอันธสูตรที่ 9

อรรถกถาอันธสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอันธสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จกฺขุ น โหติ ได้แก่ไม่มีปัญญาจักษุ. บทว่า ผาตึ
กเรยฺย
ความว่า พึงทำโภคะ (ที่ได้มาแล้ว) ให้คงอยู่ คือ ให้เจริญ
บทว่า สาวชฺชานวชฺเช ได้แก่ ธรรมที่มีโทษ และไม่มีโทษ บทว่า
หีนปฺปณีเต ได้แก่ ธรรมขั้นต่ำ และขั้นสูง. บทว่า กณฺหสุกฺกสปฺปฏิภาเค
ความว่า ธรรมดำและธรรมขาวนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความ
เป็นปฏิภาคกัน โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เพราะขัดขวางกันและกัน. ก็ในบทนี้
มีความย่อดังต่อไปนี้ บุคคลพึงรู้จักกุศลธรรมว่า เป็นกุศลธรรม. พึงรู้จัก
อกุศลธรรมว่า เป็นอกุศลธรรม. แม้ในบทมีอาทิว่า ธรรมที่มีโทษเป็นต้น
ก็มีนัย นี้แล. ส่วนในธรรมที่มีความเป็นปฏิภาคกัน ทั้งธรรมดำและธรรมขาว
ธรรมดำ บุคคลพึงรู้ว่า มีความเป็นปฏิภาคกับธรรมขาว ธรรมขาว บุคคล
พึงรู้ว่า เป็นปฏิภาคกับธรรมดำ ด้วยปัญญาจักษุใด จักษุแม้เห็นปานนั้นของ
บุคคลนั้นไม่มี นักศึกษาพึงทราบความหมาย แม้ในวาระที่เหลือโดยนัย